วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

โฆษก กอ.รมน.เตือน เยาวชนใส่เสื้อแบ่งแยกดินแดนเข้าข่ายผิดกฎหมาย ขัด รธน.ประเทศไทย

โฆษก กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรเตือน“เยาวชน”ใส่เสื้อแบ่งแยกดินแดน Self Determination แชร์ภาพในโซเชียลเน็ตเวิร์ค ผิดกฎหมายขัดรัฐธรรมนูญประเทศไทย ซึ่งจะแบ่งแยกไม่ได้แถมไม่ส่งผลดี เร่งตรวจสอบที่มาขอประชาชนอย่าหลงเชื่อ!!
13606431_1156771061048017_6329978259671251216_n

พ.อ.พีรวัชฌ์ แสงทอง โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) กล่าวถึงกรณีที่มีการแชร์ภาพกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งใส่เสื้อยืดที่เกี่ยวกับการแบ่งแยกดินแดนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้นั้น ขอเรียนให้ทราบว่าตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติไว้ว่า ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้
รูปภาพ2
ภาพข่าวที่เกิดขึ้นใน social network ในขณะนี้นั้นเป็นการกระทำทีไม่ส่งผลดีต่อสังคมไทยโดยรวม อาจจะทำให้พี่น้องประชาชนคนไทยมีความเข้าใจผิดได้ จึงขอให้พี่น้องประชาชนรับรู้ข่าวสารด้วยความระมัดระวัง อย่าได้หลงเชื่อผู้ไม่หวังดีที่สร้างข่าวเท็จ
โดย กอ.รมน.จะเร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงว่าเป็นกลุ่มใด ทำในสถานที่ใด และชี้แจงให้พี่น้องประชาชนทราบในโอกาสต่อไป.
ที่มา:เฟซบุ๊ค https://www.facebook.com/WassanaJournalist?fref=ts

วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ชาวไทยมุสลิมทุกภาคส่วน ร่วมละหมาดฮายัติต่อต้านความรุนแรงที่มัสยิดกลางปัตตานี

ชาวไทยมุสลิมทุกภาคส่วน ร่วมละหมาดฮายัติต่อต้านความรุนแรงที่มัสยิดกลางปัตตานี



ปัตตานี - ชาวไทยมุสลิมทุกภาคส่วนใน จ.ปัตตานี ร่วมละหมาดฮายัติ ขอพระผู้เป็นเจ้าลงโทษมือระเบิดจนทำให้ตำรวจจราจรเสียชีวิต พร้อมแสดงพลังต่อต้านความรุนแรงนำสันติสุขคืนสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้




วันนี้ 4 ก.ค.59  ที่มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี นายแวดือราแม มะมิงจิ ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี พร้อมด้วยชาวไทยมุสลิมทุกภาคส่วน ทั้งผู้นำศาสนา ผู้นำท้องถิ่น ตำรวจและประชาชนกว่า 200 คน ร่วมกันละหมาดฮายัติ เพื่อขอพรจากพระผู้เป็นเจ้าทรงประทานความสงบสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเร็ว

 พร้อมทั้งขอให้พระผู้เป็นเจ้าทรงลงโทษต่อผู้ก่อเหตุลอบวางระเบิดเจ้าหน้าที่ตำรวจ จนเป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรเสียชีวิต 1 ราย และบาดเจ็บสาหัส 2 ราย เหตุเกิดบริเวณด้านข้างมัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี เมื่อช่วงค่ำของวานนี้ โดยมี นายสุริยะ อมรโรจน์วรวุฒิ ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี พร้อมด้วยผู้นำ 3 ฝ่าย ทั้งทหาร ตำรวจ และฝ่ายปกครองร่วมให้กำลังใจ



จากนั้นผู้เข้าร่วมพิธีได้รวมตัวกันด้านหน้ามัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี พร้อมทั้งนำแผ่นป้ายที่มีข้อความประณามการใช้ความรุนแรง และขอวอนให้ทุกฝ่ายหยุดการใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา เพื่อนำความสันติสุขกลับคืนสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อีกครั้ง และในการร่วมกิจกรรมในครั้งนี้นอกจากสายน้ำพลังมวลชน ละหมาด ฮายัติ สาปแช่งโจร และร่วมกันบริจาคเงินช่วยเหลือครอบครัวเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ และผู้ที่ได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนเงิน 110,000 บาท เพื่อเป็นขวัญกำลังใจแด่ครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้

วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

เรือกอและ


ประวัติและวิวัฒนาการของเรือกอและ สันนิษฐานว่าเรือกอและน่าจะเกิดขึ้นก่อนสมัยสุโขทัย ข้อสันนิษฐานดังกล่าวสืบเนื่องมาจากเหตุผล ทางประวัติศาสตร์ ดังนี้คือ 1. การเข้ามาของมุสลิมในประเทศไทยในสมัยกรุงสุโขทัย (พ.ศ. 1800-1921) นั้น มุสลิมอาศัยอยู่ ในนครศรีธรรมราชตลอดจนถึงมะละกา และมีหลักฐานที่แสดงว่าในสมัยสุโขทัยนั้นประเทศไทยมีการติดต่อ กับประเทศมุสลิม เช่น อินโดนีเซีย อาหรับ ทั้งนี้ในสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และพระเอกาทศรถ (พ.ศ. 2133-2148) ตำแหน่งเสนา-บดีทางการคลังและการท่าเรือนั้นนิยมใช้ชาวเปอร์เซีย ซึ่งก็ใช้กันเป็น ประเพณีสืบต่อมาจนตลอดสมัยอยุธยาและธนบุรี 2. มุสลิมในภาคใต้มีความชำนาญในการใช้เรือ คนไทยทางภาคใต้รู้จักการใช้เรืออย่างชำนิชำนาญ มากกว่าคนไทยในภาคกลาง เหตุผลหนึ่งที่สำคัญคือ การอยู่ติดลำน้ำและ ฝั่งทะเล และหลักฐานทางประวัติศาสตร์กล่าวว่า ขุนนางเชื้อสายอาหรับมุสลิมมีความสามารถเป็นอย่างยิ่งใน ด้านกิจการค้าทางทะเล รับราชการได้ตำแหน่งเป็นเจ้ากรมท่า สังกัดกองทัพเรือเป็นจำนวนมาก จน กลายเป็นตำแหน่งสืบทอดแบบประเพณีจึงสันนิษฐานได้ว่า ชาวมุสลิมในภาคใต้ความคุ้นเคยและชำนาญใน การใช้เรือมาตั้งแต่สมัยโบราณ และสืบทอดความชำนาญทางด้านการเดินเรือและการประมงให้แก่ลูกหลาน 3. ปรากฏเรื่องราวของเรือและในสมัยสุโขทัย จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พอสรุปและ สันนิษฐานได้ว่าเรือกอและ และการเข้ามาตั้งรกรากถิ่นฐานในภาคใต้ตอนล่างของชาวมุสลิม และเนื่องจาก ชาวมุสลิมในภาคใต้มีความชำนาญพิเศษในการออกทะเล 

           ดังนั้นกลุ่มชนนี้จึงยึดอาชีพการประมง และ เนื่องจากเป็นชาวพื้นเมืองที่มีทุนทรัพย์น้อย จึงมีการคิดประดิษฐ์เครื่องมือในการออกทะเลเพื่อทำการประมง ทำให้เกิด “เรือกอและ”ขึ้น สันนิษฐานว่าการวาดลวดลายจิตรกรรมบนเรือกอและน่าจะกำเนิดขึ้นเมื่อเกือบ 1 ศตวรรษที่ผ่านมา สืบเนื่องจากเหตุผลทางประวัติศาสตร์ดังนี้ 1. ปรากฏเรือกอและที่มีการเขียนลวดลายจิตรกรรม สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 2. ปรากฏการแข่งขันเรือกอและที่มีการตกแต่งลวดลายจิตรกรรมในราวประมาณ พ.ศ. 2487 ในสมัยที่ขุน จรรยาวิเศษ (เที่ยง จรรยาวิเศษ บุญยพัตย์) ดำรงตำแหน่งข้าหลวงประจำจังหวัดปัตตานี 3. จากการสอบถามช่างต่อเรือในท้องถิ่น พอสรุปและสันนิษฐานได้ว่าชาวไทยมุสลิมเริ่มมีการตกแต่ง ลวดลายจิตรกรรมบนเรือกอและในสมัยรัตนโกสินทร์ราว 1 ศตวรรษที่ผ่านมาเพราะเนื่องจากชาวไทยมุสลิม ในเขตชายแดนภาคใต้ที่มีวัฒนธรรทางศิลปะมาตั้งแต่บรรพชนซึ่ง แสดงให้ปรากฎในด้านการประดับตกแต่ง การแต่งกายและทางด้านสถาปัตยกรรม ผนวกกับเนื่องจากชาวประมงหรือนักรบเหล่านี้ได้เคยเห็นความงาม วิจิตรของเรือในพระราชพิธีทางภาคกลาง จึงเกิดความประทับใจและมีความปรารถนาที่จะตกต่างเรือกอและ ของตนเองให้ดูสวยงาม หลังจากบ้านเมืองมีความสงบสุขสิ้นภัยจากสงครามและความวุ่นวายการตกแต่ง ลวดลายจิตรกรรมบนเรือกอและจึงเกิดขึ้น เรือกอและเดิมเป็นเรือที่ชาวพื้นเมืองปัตตานีใช้เป็น พาหนะในการเดินทางและทำการประมงยามว่างจากการประกอบอาชีพในยามคลื่นลมสงบ และเวลามีงานนักขัตฤกษ์ของท้องถิ่นชาวเมืองปัตตานี จะนำเรือกอและเข้ามาใช้ประโยชน์ในการพักผ่อนหย่อนใจ โดยนำมาจัดแข่งขันพายเรือ เพื่อชิงความเป็นหนึ่งในด้านความเร็ว 

               สมัยก่อนที่จังหวัดปัตตานีมีการแข่งขันเรือกอและในวันฮารีรายอ และวันรายอฮัจยี เป็นประจำทุกปีต่อมาความนิยมในการต่อเรือกอและขยายไปเกือบทุกจังหวัดที่อยู่ใกล้ทะเลนับ ตั้งแต่ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของอ่าวไทย บริเวณอำเภอหัวไทร เขตจังหวัดนครศรีธรรมราชเรื่อลงมายังอำเภอเทพาจังหวัดสงขลา และอำเภอเมือง อำเภอยะหริ่ง อำเภอปะนาเระ อำเภอสายบุรี ของจังหวัดปัตตานี ตลอดอีกหลายอำเภอในจังหวัดนราธิวาส 


           เรือกอแลเป็นเรือประมงที่ใช้ ในแถบจังหวัดภาคใต้ตอนล่างมีลักษณะเป็นเรือยาวที่ต่อ ด้วยไม้กระดานโดยทำให้ส่วนหัวและท้ายสูงขึ้นจากลำเรือให้ดูสวยงามนิยมทาสีแล้วเขียนลวดลายด้วยสีฉูดฉาดเป็นลายไทยหรือลายอินโดนีเซีย ซึ่งนำมาประยุกต์ให้เหมาะกับลำเรือ เรือกอและมี ๒ แบบคือ แบบหัวสั้นและแบบหัวยาว ขนาดของเรือแบ่งเป็น ๔ ขนาด โดยยึดความยาวของลำเรือเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง คือ ขนาดใหญ่ยาว ๒๕ ศอก ขนาดกลางยาว ๒๒ ศอก ขนาดเล็กยาว ๒๐ ศอก และขนาดเล็กมากเรียกว่า "ลูกเรือกอและ" ยาว ๖ ศอกโดยประมาณ และด้านนอกซึ่งค่อนขึ้นไปทางขอบเรือ ทำเป็นขอบนูนออกมาข้างนอก ลักษณะเป็นกันชนของเรือยาวตลอดลำเรือเรียกว่า "ปาแปทูวอ" ที่ตอนล่างของปาแปทูวอทำรอยแซะเนื้อไม้ด้วยกบให้เป็นแนวยาวตลอดลำเรือเรียก ว่า "กอมา" เรือทั้งลำ แบ่งเป็น ๒ ส่วน ส่วนหัวเรียกว่า "ลูแว" ส่วนท้ายเรียกว่า "บูเระแต" ถ้าแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน ส่วนหัวเรียกว่า "ปาลอ" ส่วนกลาง (ลำเรือ) เรียกว่า "ตือเราะ" ส่วนท้ายเรียกว่า "ปูงง"

มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี

มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี ตั้งอยู่ที่ถนนยะรัง เส้นทางยะรัง-ปัตตานี ในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี ซึ่งสร้างในปี พ.ศ. 2497 ใช้เวลาดำเนินการสร้างประมาณ 9 ปี และทำพิธีเปิดโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2506 เพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการประกอบ ศาสนกิจของชาวไทยมุสลิมในภาคใต้ เป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกมีรูปทรงคล้ายกับทัชมาฮาลของอินเดีย ตรงกลางอาคารมียอดโดมขนาดใหญ่และมีโดมบริวาร 4 ทิศ มีหอคอยอยู่สองข้าง บริเวณด้านหน้ามัสยิดมีสระน้ำสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ ภายในมัสยิดมีลักษณะเป็นห้องโถง มีระเบียงสองข้างภายในห้องโถงด้านในมีบัลลังก์ทรงสูงและแคบ 




        สิ่งที่น่าสนใจ :

    • เป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกมีรูปทรงคล้ายกับทัชมาฮาลของอินเดีย 
    • ตรงกลางอาคารมียอดโดมขนาดใหญ่และมีโดมบริวาร 4 ทิศ มีหอคอยอยู่สองข้าง 
    • บริเวณด้านหน้ามัสยิดมีสระน้ำสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ 
    • ภายในมัสยิดมีลักษณะเป็นห้องโถง มีระเบียงสองข้างภายในห้องโถงด้านในมีบัลลังก์ทรงสูงและแคบ

        รายละเอียด :

        มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี ใช้เวลาดำเนินการสร้างประมาณ 9 ปี และทำพิธีเปิดโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2506 เพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการประกอบ ศาสนกิจของชาวไทยมุสลิมในภาคใต้

        มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานีเป็นมัสยิดที่สวยที่สุดของไทย สร้างในปีพ.ศ.2497 และทำพิธีเปิดโดยจอมพล-สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อวันที่ 3 พฤษภา-คม พ.ศ. 2506 เพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการประกอบศาสนกิจ ของชาวไทยมุสลิมในภาคใต้ เป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก หลังคาทรงสี่เหลี่ยมชั้นเดียวมีโดมใหญ่ 2 โดม รายรอบด้วยโดมเล็กๆอีกหลายโดม ดูสวยงาม สง่าและสงบ มัสยิดกลางแห่งนี้ตั้งอยู่ที่ตัวเมืองปัตตานี ริมถนนสายปัตตานี-ยะลา (ทางหลวงหมายเลข 410) หรือจากถนนพิพิธแล้วเลี้ยวขวา ไปตามถนนไปจังหวัดยะลา ระยะทางประมาณ 500 เมตร จะเห็นมัสยิดกลาง ตั้งตระหง่านอยู่ริมถนนอย่างสง่างาม เปิดให้เข้าชมภายในทุกวัน เวลา 09.00 - 15.30 น. แต่ไม่ควรที่จะไป ในวันศุกร์ระหว่างเวลา 12.00 - 14.00 น. ซึ่งเป็นวันละหมาดประจำสัปดาห์

ก่อนถึงวัน ฮารีรายอ.......




        เข้าสู่ช่วง 10 วันสุดท้าย เทศกาล " ถือศิลอด " ในช่วงเดือนรอมฎอนของพี่น้องมุสลิมทั่วโลก เช่นเดียวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งประชาชนในพื้นที่กว่า 80 เปอร์เซ็นต์ นับถือศาสนาอิสลาม ...
... ที่มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี ทุกเย็นช่วงนี้จะเห็นชาวไทยมุสลิม สวมใส่เสื้อผ้า ปกคลุมมิดชิด เดินทางมาร่วมกันประกอบพิธีละหมาดตารอเวี๊ยะ ซึ่งเป็นพิธีละหมาดในตอนกลางคืน ที่มีขึ้นเฉพาะช่วงเดือนรอมฎอน (ถือศิลอด) โดยชาวมุสลิมทั่วโลกถือว่าเป็นเดือนแห่งการสร้างความดี ทำจิตใจให้เบิกบาน จากนี้ไปอีกประมาณ 10 วัน ก็จะถึงเทศกาล " ฮารีรายอ "....
... สุข สว่าง สงบและสันติ จงมีแด่ท่าน ตลอดไป ....