วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

เรือกอและ


ประวัติและวิวัฒนาการของเรือกอและ สันนิษฐานว่าเรือกอและน่าจะเกิดขึ้นก่อนสมัยสุโขทัย ข้อสันนิษฐานดังกล่าวสืบเนื่องมาจากเหตุผล ทางประวัติศาสตร์ ดังนี้คือ 1. การเข้ามาของมุสลิมในประเทศไทยในสมัยกรุงสุโขทัย (พ.ศ. 1800-1921) นั้น มุสลิมอาศัยอยู่ ในนครศรีธรรมราชตลอดจนถึงมะละกา และมีหลักฐานที่แสดงว่าในสมัยสุโขทัยนั้นประเทศไทยมีการติดต่อ กับประเทศมุสลิม เช่น อินโดนีเซีย อาหรับ ทั้งนี้ในสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และพระเอกาทศรถ (พ.ศ. 2133-2148) ตำแหน่งเสนา-บดีทางการคลังและการท่าเรือนั้นนิยมใช้ชาวเปอร์เซีย ซึ่งก็ใช้กันเป็น ประเพณีสืบต่อมาจนตลอดสมัยอยุธยาและธนบุรี 2. มุสลิมในภาคใต้มีความชำนาญในการใช้เรือ คนไทยทางภาคใต้รู้จักการใช้เรืออย่างชำนิชำนาญ มากกว่าคนไทยในภาคกลาง เหตุผลหนึ่งที่สำคัญคือ การอยู่ติดลำน้ำและ ฝั่งทะเล และหลักฐานทางประวัติศาสตร์กล่าวว่า ขุนนางเชื้อสายอาหรับมุสลิมมีความสามารถเป็นอย่างยิ่งใน ด้านกิจการค้าทางทะเล รับราชการได้ตำแหน่งเป็นเจ้ากรมท่า สังกัดกองทัพเรือเป็นจำนวนมาก จน กลายเป็นตำแหน่งสืบทอดแบบประเพณีจึงสันนิษฐานได้ว่า ชาวมุสลิมในภาคใต้ความคุ้นเคยและชำนาญใน การใช้เรือมาตั้งแต่สมัยโบราณ และสืบทอดความชำนาญทางด้านการเดินเรือและการประมงให้แก่ลูกหลาน 3. ปรากฏเรื่องราวของเรือและในสมัยสุโขทัย จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พอสรุปและ สันนิษฐานได้ว่าเรือกอและ และการเข้ามาตั้งรกรากถิ่นฐานในภาคใต้ตอนล่างของชาวมุสลิม และเนื่องจาก ชาวมุสลิมในภาคใต้มีความชำนาญพิเศษในการออกทะเล 

           ดังนั้นกลุ่มชนนี้จึงยึดอาชีพการประมง และ เนื่องจากเป็นชาวพื้นเมืองที่มีทุนทรัพย์น้อย จึงมีการคิดประดิษฐ์เครื่องมือในการออกทะเลเพื่อทำการประมง ทำให้เกิด “เรือกอและ”ขึ้น สันนิษฐานว่าการวาดลวดลายจิตรกรรมบนเรือกอและน่าจะกำเนิดขึ้นเมื่อเกือบ 1 ศตวรรษที่ผ่านมา สืบเนื่องจากเหตุผลทางประวัติศาสตร์ดังนี้ 1. ปรากฏเรือกอและที่มีการเขียนลวดลายจิตรกรรม สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 2. ปรากฏการแข่งขันเรือกอและที่มีการตกแต่งลวดลายจิตรกรรมในราวประมาณ พ.ศ. 2487 ในสมัยที่ขุน จรรยาวิเศษ (เที่ยง จรรยาวิเศษ บุญยพัตย์) ดำรงตำแหน่งข้าหลวงประจำจังหวัดปัตตานี 3. จากการสอบถามช่างต่อเรือในท้องถิ่น พอสรุปและสันนิษฐานได้ว่าชาวไทยมุสลิมเริ่มมีการตกแต่ง ลวดลายจิตรกรรมบนเรือกอและในสมัยรัตนโกสินทร์ราว 1 ศตวรรษที่ผ่านมาเพราะเนื่องจากชาวไทยมุสลิม ในเขตชายแดนภาคใต้ที่มีวัฒนธรรทางศิลปะมาตั้งแต่บรรพชนซึ่ง แสดงให้ปรากฎในด้านการประดับตกแต่ง การแต่งกายและทางด้านสถาปัตยกรรม ผนวกกับเนื่องจากชาวประมงหรือนักรบเหล่านี้ได้เคยเห็นความงาม วิจิตรของเรือในพระราชพิธีทางภาคกลาง จึงเกิดความประทับใจและมีความปรารถนาที่จะตกต่างเรือกอและ ของตนเองให้ดูสวยงาม หลังจากบ้านเมืองมีความสงบสุขสิ้นภัยจากสงครามและความวุ่นวายการตกแต่ง ลวดลายจิตรกรรมบนเรือกอและจึงเกิดขึ้น เรือกอและเดิมเป็นเรือที่ชาวพื้นเมืองปัตตานีใช้เป็น พาหนะในการเดินทางและทำการประมงยามว่างจากการประกอบอาชีพในยามคลื่นลมสงบ และเวลามีงานนักขัตฤกษ์ของท้องถิ่นชาวเมืองปัตตานี จะนำเรือกอและเข้ามาใช้ประโยชน์ในการพักผ่อนหย่อนใจ โดยนำมาจัดแข่งขันพายเรือ เพื่อชิงความเป็นหนึ่งในด้านความเร็ว 

               สมัยก่อนที่จังหวัดปัตตานีมีการแข่งขันเรือกอและในวันฮารีรายอ และวันรายอฮัจยี เป็นประจำทุกปีต่อมาความนิยมในการต่อเรือกอและขยายไปเกือบทุกจังหวัดที่อยู่ใกล้ทะเลนับ ตั้งแต่ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของอ่าวไทย บริเวณอำเภอหัวไทร เขตจังหวัดนครศรีธรรมราชเรื่อลงมายังอำเภอเทพาจังหวัดสงขลา และอำเภอเมือง อำเภอยะหริ่ง อำเภอปะนาเระ อำเภอสายบุรี ของจังหวัดปัตตานี ตลอดอีกหลายอำเภอในจังหวัดนราธิวาส 


           เรือกอแลเป็นเรือประมงที่ใช้ ในแถบจังหวัดภาคใต้ตอนล่างมีลักษณะเป็นเรือยาวที่ต่อ ด้วยไม้กระดานโดยทำให้ส่วนหัวและท้ายสูงขึ้นจากลำเรือให้ดูสวยงามนิยมทาสีแล้วเขียนลวดลายด้วยสีฉูดฉาดเป็นลายไทยหรือลายอินโดนีเซีย ซึ่งนำมาประยุกต์ให้เหมาะกับลำเรือ เรือกอและมี ๒ แบบคือ แบบหัวสั้นและแบบหัวยาว ขนาดของเรือแบ่งเป็น ๔ ขนาด โดยยึดความยาวของลำเรือเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง คือ ขนาดใหญ่ยาว ๒๕ ศอก ขนาดกลางยาว ๒๒ ศอก ขนาดเล็กยาว ๒๐ ศอก และขนาดเล็กมากเรียกว่า "ลูกเรือกอและ" ยาว ๖ ศอกโดยประมาณ และด้านนอกซึ่งค่อนขึ้นไปทางขอบเรือ ทำเป็นขอบนูนออกมาข้างนอก ลักษณะเป็นกันชนของเรือยาวตลอดลำเรือเรียกว่า "ปาแปทูวอ" ที่ตอนล่างของปาแปทูวอทำรอยแซะเนื้อไม้ด้วยกบให้เป็นแนวยาวตลอดลำเรือเรียก ว่า "กอมา" เรือทั้งลำ แบ่งเป็น ๒ ส่วน ส่วนหัวเรียกว่า "ลูแว" ส่วนท้ายเรียกว่า "บูเระแต" ถ้าแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน ส่วนหัวเรียกว่า "ปาลอ" ส่วนกลาง (ลำเรือ) เรียกว่า "ตือเราะ" ส่วนท้ายเรียกว่า "ปูงง"

1 ความคิดเห็น:

  1. สวัสดีค่ะ จากฝ่ายแบบบริษัทmotoaddictนะคะ พอดีสนใจรูปภาพเรือกอและของทางเพจคุณค่ะ ไม่ทราบทางเราจะขอใช้ลิขสิทธ์รูปภาพจากช่องทางไหนได้บ้างค่ะ และต้องดำเนินการอย่างไรได้บ้างค่ะ รบกวนติดต่อกลับทางmailที่ขึ้นไว้นะคะ
    ขอบคุณมากค่ะ

    ตอบลบ